วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

เป็นเปรตเพราะทุบพระพุทธรูป


ที่ถ้ำเชียงดาวนี้ พระแหวนได้พบเปรตตนหนึ่ง ซึ่งท่านได้กล่าวไว้ว่า 
“ ในระหว่างพรรษา วันหนึ่งประมาณ ๕ โมงเย็น ท่านกำลังเดินจงกรมอยู่ ก็มีเสียงดังโครมครามเหมือนกิ่งไม้ใหญ่หักลงมา จึงเหลียวไปดู กลายเป็นสัตว์ร่างใหญ่ร่างหนึ่งเอาไม้เกาะอยู่บนกิ่ง ห้อยหัวลงมา มีผมยาวรุงรัง เสียงร้องโหยหวน ท่านบอกว่าๆไม่นึกกลัว และไม่ได้สนใจ ยังคงเดินจงกรมต่อไป เมื่อร่างนั้นเห็นพระไม่สนใจ ก็หนีหายไปสองสามวันต่อมาก็ปรากฏอีก แต่พระก็เดินจงกรมโดยไม่สนใจ หลังจากนั้นจึงมาปรากฏตัวให้เห็นทุกเย็น แต่ไม่ได้เข้ามาใกล้พระ คงแสดงอาการเหมือนเดิมทุกครั้ง
วัน หนึ่ง ท่านได้กำหนดจิตถามไปว่า ที่มานั้นเขาต้องการอะไร ทีแรกเขาทำเฉยเหมือนไม่เข้าใจ จึงกำหนดจิตถามอีก เขาจึงบอกว่าต้องการมาขอส่วนบุญกำหนดจิตถามต่อไปว่า เขาเคยทำกรรมอะไรมา จึงต้องทุกข์ทรมานอยู่ในสภาพเช่นนี้ เปรต เล่าถึงบุพกรรมของเขาว่า เขาเคยเป็นคนที่เชียงดาวนี้ มีอาชีพลักขโมยและปล้นเขากิน ก่อนไปปล้น เขาจะเอาดอกไม้ธูปเทียนไปขอพร และขอความคุ้มครองกับพระพุทธรูปองค์หนึ่งในถ้ำเอาทำอย่างนั้นทุกครั้ง และก็แคล้วคลาดตลอดมา
อยู่มาวันหนึ่ง เขาไปขอพรพระพุทธรูปแล้วออกไปปล้นเช่นเคยบังเอิญเจ้าของรู้ตัวก่อน จึงเตรียมการต่อสู้ เขาถูกเจ้าของบ้านฟันบาดเจ็บสาหัส จึงหนีตายเอาตัวรอดมาได้ ด้วย ความโมโหว่าพระไม่คุ้มครอง เขาจึงกลับไปที่ถ้ำแล้วเอาขวานทุบพระพุทธรูปจนคอหัก ขณะเดียวกันก็ยังคุมแค้นอยู่ ตั้งใจว่าบาดเจ็บหายแล้วจะกลับไปแก้แค้นข้าวของบ้านให้ได้ เผอิญบาดแผลที่ถูกฟันนั้นสาหัสมาก เขาจึงต้องตายในเวลาต่อมา วิญญาณเขาจึงต้องมาเป็นเปรตทนทุกข์ทรมานอยู่ที่เชียงดาวนี้ จึงได้พยายามมาขอส่วนบุญเพื่อให้พระท่านช่วยแผ่เมตตาให้จะได้คลายทุกข์ทรมานลงไปได้บ้างท่านเล่าว่า บุพกรรม ของเปรตตนนั้นหนักมากเหลือเกินท่านได้รวบรวมจิตอุทิศบุญกุศลไปให้ ตั้งแต่นั้นมาร่างนั้นก็ไม่ปรากฏให้เห็นอีกแต่จะได้รับบุญกุศลเพียงใดขึ้น กับตัวเขาเอง ท่านบอก ว่า เปรตตนนั้นเป็นเปรตสมัยใหม่เพราะใช้คำแทนตัวเองว่า “ผม” แต่เปรตตนอื่นๆ ที่หลวงปู่เคยพบมาจะใช้คำแทนตัวเองว่า “เรา” หรือ “ข้าพเจ้า” จึงนับว่าเปรตตนนี้เป็นเปรตสมัยใหม่
บรรดา สัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อมีทุกข์มาถึงตัว มักจะไม่เห็นคุณของพระศาสนา มัวเมาประมาท ปล่อยกายปล่อยใจให้ประพฤติทุจริต ผิดศีลธรรมอยู่เป็นนิสัยเห็นผิดเป็นถูก เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ต่อเมื่อได้รับทุกข์เข้า ที่พึ่งไม่มี นั่นแหละจึงได้คิดถึง พระ คิดถึงศาสนา แต่เวลาที่สายไปเสียแล้ว เรื่องความดีนั้นเราต้องทำอยู่เสมอ ให้เป็นที่อยู่ของจิตเป็นอารมณ์ของจิต ให้เป็นมรรคคือทางดำเนินไปของจิตมันจึงจะเห็นผลของความดี
ไม่ใช่เวลาใกล้ตายจึงนิมนต์พระไปให้ศีล ให้ไปบอก พุทโธ หรือตายไปแล้วญาติจึงเคาะโลงบอกให้รับศีล เช่นนี้เป็นการกระทำที่ผิดหมด
เหตุเพราะว่า คน เจ็บนั้นจิตมัวติดอยู่กับเวทนาไฉนจะมาสนใจใยดีศีลได้ เว้นแต่ผู้ที่มารักษาศีลมาเป็นปกติเท่านั้นจึงจะสามารถระลึกศีลของตัวได้ เพราะตนเองเคยทำมาจนเป็นอารมณ์ของจิตแล้วเท่านั้น
แต่ส่วนมาก พอใกล้ตายแล้ว จึงมีผู้เตือนให้รักษาศีลยิ่งคนตายแล้วยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะคนตายนั้นร่างกายกับจิตใจไม่รับรู้ใดๆแล้วแต่ที่ทำมาก็ยังถือว่าเป็นเรื่องดี
ตัวอย่างเช่น พระเทวทัตทำกรรมมาจนสุดท้ายถูกแผ่นดินสูบ เมื่อร่างลงไปถึงคาง จึงระลึกถึงความดีของพระพุทธเจ้าได้แล้วขอถวายคางเป็นพุทธบูชาระ เทวทัตยังมีสติระลึกได้ จึงพอมีผลดีอยู่บ้างในอนาคตแม้เปรตตนนั้นก็เหมือนกัน ตายไปแล้วจึงสำนึกได้มาขอส่วนบุญเมื่อตอนยังมีชีวิตอยู่เคยทำลายแม้กระทั่ง พระพุทธรูปที่ตนเคารพนับถือ
" การที่พระแผ่เมตตาให้ เขาจะได้รับหรือเปล่าก็ไม่รู้ สู้เราทำเองไม่ได้ เราทำให้ตัวเราเอง จะได้มากน้อยเท่าไรก็มีความปีติเอิบอิ่มมากเท่านั้น” 
จากหนังสือ ชีวประวัติ : ประสบการณ์ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ อริยสงฆ์ แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง มหานครเชียงใหม่ หน้าที่ ๒๔๕
                                                          

ครุกรรม - กรรมหนักทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ในฝ่ายกุศลได้แก่ฌานสมาบัติ ในฝ่ายอกุศลได้แก่อนันตริยกรรม  กรรมนี้ให้ผลก่อนกรรมอื่นเหมือนคนอยู่บนที่สูงเอาวัตถุต่าง ๆ ทิ้งลงมาอย่างไหนหนักที่สุด อย่างนั่นถึงพื้นก่อน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โพสต์แนะนำ

โหย่งเหิง สรรพคุณช่วยบำบัดเบาหวาน ความดันโลหิต สุดยอดยาบำรุงร่างกาย ต้านโรคร้าย เบาหวาน ความดัน เกาท์

โหย่งเหิง-Yongherng-ขวดเล็ก โหย่งเหิง สรรพคุณช่วยบำบัดเบาหวาน ความดันโลหิต สุดยอดยาบำรุงร่างกาย ต้านโรคร้าย เบาหวาน ความดัน เกาท์ โหย่ง...