วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

โทษของการคบคนเลว



ปัญหา การคบคนเลวทราม ก่อให้เกิดโทษอย่างไรบ้าง?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนทุศีล มีธรรมอันเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานลึกลับ ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารีบุคคล แต่ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีบุคคล เน่าใน ภายในเยิ้มด้วยราคะ เป็นเหมืองขยะ บุคคลเช่นนี้ควรรังเกียจไม่ควรคบ.... เพราะเหตุไร เพราะแม้จะไม่เจริญรอยตามบุคคลเช่นนั้นก็จริง แต่กิตติศัพท์ที่เสียหายของเขาย่อมระบือไปว่า เขามีคนชั่วเป็นมิตร มีคนชั่วเป็นสหาย มีคนชั่วเป็นเพื่อน เปรียบเหมือนงูที่จมอยู่ในอุจจาระ ถึงแม้จะไม่กัดก็ทำให้เปื้อนได้”

ชิคุจฉสูตร ติก. อํ. (๔๖๖)
ตบ. ๒๐ : ๑๕๘-๑๕๙ ตท. ๒๐ : ๑๔๓
ตอ. G.S. ๑ : ๑๐๙

                                                                            

 เครดิตบทความจาก/ขอขอบคุณ

และ



                                     

ฝึกสติ รู้ เพื่อ ชนะมาร (ใจ) Mindfulness know to beat the devil (the mind). 

คนที่ควรเฉยเมย



ปัญหา คนชนิดไหนเป็นคนที่เราควรเฉยเสีย ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเจ้าโทสะ มากด้วยความแค้นใจ แม้ถูกว่าแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท...แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏเปรียบเหมือนแผลเก่า ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมให้สิ่งหมักหมมกระจัดกระจายมากมาย.... เปรียบเหมือนถ่านไม้มะพลับ ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อมแตกเสียงดังจิจิ...เปรียบเหมือนหลุมอุจจาระ ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อมส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งขึ้น... บุคคลเช่นนี้ ควรวางเฉย ไม่ควรคบ เพราะเหตุไร? เพราะเขาถึงด่าบ้าง บริภาษบ้าง ทำความเสียหายให้เราบ้าง....”

ชิคุจฉสูตร ติก. อํ. (๔๖๖)
ตบ. ๒๐ : ๑๕๘-๑๕๙ ตท. ๒๐ : ๑๔๓
ตอ. G.S. ๑ : ๑๐๙

                                                                               

กุศล - บุญ, ความดี, ฉลาด, สิ่งที่ดี, กรรมดี, แผ้วถาง ให้ราบเตียนไป
กุศลมูล -รากเหง้าของกุศล, ต้นเหตุของกุศล, ต้นเหตุของความดีมี ๓ อย่าง คือ
       ๑. อโลภะ ไม่โลภ (จาคะ- การสละ, การให้ปัน, การเสียสละ)
       ๒. อโทสะ ไม่คิดประทุษร้าย (เมตตา)
       ๓. อโมหะ ไม่หลง (ปัญญา)

                                                    เครดิตบทความจาก/ขอขอบคุณ
และ

http://goo.gl/iX9qGF





                                                          

พระอรหันต์ทำกรรมหรือไม่



ปัญหา คนที่ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะแล้ว กระทำกรรมจะถือว่าเป็นกรรมหรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมที่กระทำด้วย อโลภะ.... อโทสะ.... อโมหะ.... เกิดแต่ อโลภะ.... อโทสะ.... อโมหะ.... มี อโลภะ.... อโทสะ.... อโมหะ.... เป็นแดนเกิดเมื่อโลภะ.... โทสะ.... โมหะ สิ้นไปแล้ว กรรมนั้นก็เป็นอันละแล้ว มีมูลรากที่ถอนขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำให้เป็นสิ่งที่ไม่มี ทำให้เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปไม่ได้อีกแน่นอน... เปรียบเหมือนบุรุษพึงเอาไฟเผาเมล็ดพืชที่ไม่แตกหักเน่าเปื่อย.... ครั้นแล้วก็ทำให้เป็นผล แล้วโปรยไปตามลมพายุ หรือลอยเสียในแม่น้ำที่มีกระแสไหลเชี่ยว พึงเป็นพืชที่ถูกถอนรากขึ้นทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา...”

นิพพานสูตร ติก. อํ. (๔๗๓)
ตบ. ๒๐ : ๑๗๒-๑๗๓ ตท. ๒๐ : ๑๕๓-๑๕๔
ตอ. G.S. ๑ : ๑๑๘-๑๑๙

                                                                       

กิเลสกาม - กิเลสเป็นเหตุใคร่, กิเลสที่ทำให้อยาก, เจตสิกอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ ให้รัก ให้อยากได้ ได้แก่ราคะ โลภะ อิจฉา (อยากได้) เป็นต้น

เครดิตบทความจาก/ขอขอบคุณ
และ




วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

คนปากเสีย และปากดี



ปัญหา คนเช่นใด “ปากอุจจาระ” “ปากดอกไม้ และปากน้ำผึ้ง” คืออย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลปากอุจจาระ คือ อย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปในที่ประชุมก็ดี ในฝูงชนก็ดี ไปในท่ามกลางเหล่าญาติก็ดี ไปในท่ามกลางเสนาก็ดี ไปในท่ามกลางราชาสกุลก็ดี ถูกเขาอ้างเป็นพยาน.... เขาไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ หรือรู้ก็ว่าไม่รู้ ไม่เห็นก็ว่าเห็น หรือไม่เห็นก็ว่าเห็น กล่าวแกล้งเท็จทั้งที่รู้ เพราะเห็นแก่ตนเอง เพราะเห็นแก่คนอื่น หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย... นี้เรียกว่าคน “ปากอุจจาระ”
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ปากดอกไม้ คืออย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปในที่ประชุม.... ถูกเขาอ้างเป็นพยาน.... เมื่อเขาไม่รู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ หรือเมื่อรู้กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าเห็น ย่อมไม่แกล้งกล่าวเท็จทั้งที่รู้ เพราะเห็นแก่ตน เพราะเห็นแก่คนอื่น หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย... นี้เรียกว่าคน “ปากดอกไม้”
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ปากน้ำผึ้ง คืออย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ พูดแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสตเป็นที่รักจับหัวใจ เป็นวาจาของชาวเมือง เป็นที่รักที่ชอบในของคนมาก... นี้เรียกว่าคน “ปากน้ำผึ้ง”....

คูถภาณิสูตร ติก. อํ. (๖๔๗)
ตบ. ๒๐ : ๑๖๑-๑๖๒ ตท. ๒๐ : ๑๔๕
ตอ. G.S. ๑ : ๑๑๐-๑๑๑
                                             
                                                                         

เครดิตบทความจาก/ขอขอบคุณ
และ


 


โพสต์แนะนำ

โหย่งเหิง สรรพคุณช่วยบำบัดเบาหวาน ความดันโลหิต สุดยอดยาบำรุงร่างกาย ต้านโรคร้าย เบาหวาน ความดัน เกาท์

โหย่งเหิง-Yongherng-ขวดเล็ก โหย่งเหิง สรรพคุณช่วยบำบัดเบาหวาน ความดันโลหิต สุดยอดยาบำรุงร่างกาย ต้านโรคร้าย เบาหวาน ความดัน เกาท์ โหย่ง...